การเคลื่อนไหวคัดค้านของกลุ่มนักศึกษาต่อการปฏิวัติ รัฐประหาร เกิดขึ้นทุกครั้งหลังการยึดอำนาจ
การปกครองโดยรัฐบาลทหารวันนี้ก็เช่นกัน มีนักศึกษาเคลื่อนไหวต้านทั้งในนาม "กลุ่มดาวดิน" และ "ธรรมศาสตร์เสรี"
กิจกรรมต่อต้านดำเนินมาเป็นระยะแบบกระจัดกระจาย ก่อนที่ทั้งสองกลุ่มจะรวมกันเป็นหนึ่ง ในนาม "ขบวนการประชาธิปไตยใหม่"
การผนึกรวมของนักศึกษาครั้งนี้จะส่งแรงกระเพื่อมได้ขนาดไหน
การปกครองโดยรัฐบาลทหารวันนี้ก็เช่นกัน มีนักศึกษาเคลื่อนไหวต้านทั้งในนาม "กลุ่มดาวดิน" และ "ธรรมศาสตร์เสรี"
กิจกรรมต่อต้านดำเนินมาเป็นระยะแบบกระจัดกระจาย ก่อนที่ทั้งสองกลุ่มจะรวมกันเป็นหนึ่ง ในนาม "ขบวนการประชาธิปไตยใหม่"
การผนึกรวมของนักศึกษาครั้งนี้จะส่งแรงกระเพื่อมได้ขนาดไหน
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
ผม มองว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักศึกษากลุ่มต่างๆ ที่มีการเคลื่อนไหวมากขึ้นในขณะนี้ น่าจะทำให้เกิดแรงกระเพื่อมในสังคมได้บ้างไม่มากก็น้อย แต่จะเกิดแรงกระเพื่อมมากขนาดไหนคงไม่สามารถประเมินได้ในตอนนี้
แต่ สิ่งหนึ่งที่สะท้อนได้ชัดเจนคือ การที่นักศึกษาออกมาเคลื่อนไหว เป็นการส่งสัญญาณและแสดงออกให้สังคมและรัฐบาลซึ่งเป็นผู้มีอำนาจเห็นว่าระบบ ที่ยึดครองอำนาจอยู่ มีกลุ่มคนไม่พอใจอยู่ค่อนข้างมาก ไม่ใช่ว่าไม่มีเลย
โดยเป็นการแสดงออกของกลุ่มที่เรียกได้ว่าพลังบริสุทธิ์อย่างแท้จริง ใครจะมาว่าเป็นพวกพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คงอ้างในข้อนี้ไม่ขึ้น
ความ ยากของการเคลื่อนไหวในช่วงเวลานี้ คือเป็นการเคลื่อนไหวภายใต้การคุมอำนาจของรัฐบาลทหารอย่างแท้จริง 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น การที่มีกลุ่มนักศึกษาออกมาเคลื่อนไหว จึงขอยกย่องว่าพวกเขากล้าหาญมาก เพราะระบอบเผด็จการต้องการให้คนเกิดความหวาดกลัว แต่ปรากฏว่ามีคนออกมาแสดงความกล้าไม่กลัวอำนาจดังกล่าว
นี่จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมได้ในระดับหนึ่ง และถือว่าเป็นการสั่นคลอนความชอบธรรมของรัฐบาล
อย่าง ไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของนักศึกษาคงยังไม่ถึงขั้นทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอะไร แต่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความไม่พอใจได้แน่นอน แต่คงไม่ถึงขั้นแตกหัก
ส่วน การรวมตัวกันเคลื่อนไหวในนามขบวนการประชาธิปไตยใหม่ การเคลื่อนไหวของกลุ่มคนย่อมยกระดับได้อยู่แล้ว แต่เชื่อว่าจะไม่ถึงขั้นก่อให้เกิดความรุนแรงอะไร เพราะถ้ามีคนต้องบาดเจ็บหรือเสียชีวิตย่อมไม่คุ้มค่า จึงเชื่อว่าจะไม่ถึงขั้นนั้น
และเชื่อว่าท้ายที่สุดทั้งฝ่ายผู้มีอำนาจและฝ่ายที่เคลื่อนไหวจะพูดคุยกันรู้เรื่อง
เสนาะ เจริญพร
คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
กระแส ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ที่เกิดจากการรวมกลุ่มระหว่างนักศึกษาดาวดินกับนักศึกษาธรรมศาสตร์ ยังก้ำกึ่งว่าจะจุดติด ขยายวงกว้างได้หรือไม่
แต่หากดูจาก ประวัติศาสตร์เหตุการณ์ 14 ต.ค. 16 แม้จะเริ่มจากนักศึกษาไม่กี่คนที่ออกมาเรียกร้องรัฐธรรมนูญ แต่ก็จุดติดเพราะกระแสความไม่พอใจรัฐบาลทหารมีมาก่อนแล้ว หรืออย่างม็อบต้านกฎหมายนิรโทษฯ แรกเริ่มก็เหมือนไม่มีอะไรแต่ก็ขยายวงกว้างในที่สุด
บริบท ที่อาจสามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเหตุการณ์ในปัจจุบันอาจต้องศึกษาจาก เหตุการณ์ พฤษภาฯ 35 ที่ทำให้เราพบว่าสถานการณ์ล้อรับกัน ปี"35 ก็เริ่มจากนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่สนามหลวงที่ดูแล้วไม่มีอะไร แต่ชั่วขณะหนึ่งก็เต็มไปด้วยชนชั้นกลาง ด้วยเหตุพล.อ.สุจินดา คราประยูร อ้างขออยู่ปฏิรูปก่อนเลือกตั้งอีก 2 ปี
คราวนี้ก็คล้ายกัน ซึ่งก็ต้องรอดูว่าชนชั้นกลางส่วนหนึ่งที่เคยเป่านกหวีด จะเริ่มไม่พอใจเมื่อไร ส่วนฐานมวลชนเชื่อว่า คงจะเป็นคนเสื้อแดงเหมือนเดิม หากกระแสนี้จุดติดขึ้นมา
ประเด็นที่สามารถนำมาเคลื่อนไหวและ สามารถสร้างความชอบธรรมของกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ คือ ชี้ให้สังคมเห็นว่ารัฐบาลทหารชุดนี้ เอื้อผลประโยชน์ให้ กลุ่มทุนมากกว่าจะช่วยเหลือ ชาวบ้าน ด้วยการเปิดสัมปทานพลังงาน บุกรุกที่ดินเอาทรัพยากร เหมือนที่กลุ่มดาวดินผลักดันมาก่อน หน้านี้อย่างต่อเนื่อง
ส่วนท่าทีของฝั่งรัฐบาลการดำเนิน การของฝั่งรัฐบาลค่อนข้างลำบาก เพราะจะถูกสังคมทั้งในและต่างประเทศจับจ้องอยู่มาก เพราะการดำเนินการไม่ว่าจะทางใด การจับกุมนักศึกษาอาจทำให้มีมวลชนออกมามาก แต่หากปล่อยไว้กลุ่มนักศึกษาก็อาจเรียกมวลชนออกมาได้มากเช่นกัน
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
หาก มองการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักศึกษาไม่ว่าจะเป็น กลุ่มดาวดินหรือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แม้จะมารวมตัวกันก็คงขยายไม่ออกเพราะถือว่ายังไม่ใหญ่มาก
แต่ สิ่งสำคัญ ต้องมองว่านี่คือการเริ่มต้นในการแสดงออกถึงการไม่กลัวอำนาจรัฐประหาร แม้ว่าจะเป็นกลุ่มไม่ใหญ่ มีนักศึกษาเพียงไม่กี่คนก็ตาม แต่การเคลื่อนไหวนี้สามารถบั่นทอนเสาหลักเพียงอย่างเดียวของคณะรัฐประหาร ซึ่งก็คืออำนาจ
ขณะนี้เห็นว่าสิ่งที่ต้องจับตามองไม่ใช่กลุ่มที่เคลื่อนไหว แต่เป็นฝ่ายอำนาจเองว่าจะวางตัวและปฏิบัติต่อการเคลื่อนไหวนี้อย่างไร
ข้อ ควรระวังคือหากฝ่ายอำนาจไปกล่าวหาการเคลื่อนไหวนี้ว่ามีเบื้องหน้าเบื้อง หลังอย่างใดก็ตาม ตามประวัติศาสตร์การเมืองเปรียบเทียบได้กับกรณีเดือนตุลาและเดือนพฤษภา เมื่อมีการกล่าวหาใส่ร้ายเกิดขึ้น ผลเสียจะตกไปอยู่ที่ฝ่ายอำนาจเอง
หาก ข้อกล่าวหานั้นไม่มีข้อเท็จจริงและเลื่อนลอยจะทำให้สังคมให้ความสนใจมากขึ้น และมีความเป็น ไปได้ว่าจะเกิดการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกลุ่มเคลื่อนไหว เพราะเห็นว่าฝ่ายอำนาจไม่มีความยุติธรรม เกิดความระแวงต่อฝ่ายอำนาจ มากขึ้น ดังนั้น ก่อนจะพูดอะไรควรคิดให้รอบคอบถึงผลที่จะตามมา
จึง รู้สึกเห็นด้วยที่ฝ่ายอำนาจปฏิบัติต่อกลุ่มเคลื่อนไหวอย่างยืดหยุ่น แม้ว่าจะเป็นการจับกุมตัวแล้วปล่อยภายหลัง ความยืดหยุ่นนี้สามารถแก้ไขสถานการณ์ไม่ให้รุนแรงขึ้น
แต่ ทางออกที่ดีสุดคือเปิดพื้นที่สาธารณะในการแสดงความเห็นอย่างเสรี เพราะเราปฏิเสธไม่ได้ว่าตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ความอึดอัดทางสังคมนั้นมีสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความหวาดระแวงว่าจะมีการต่ออายุของรัฐบาลหรือ คสช. หรือกรณีใดก็ตาม
การเปิดพื้นที่สาธารณะให้แสดงความเห็นเป็น สิ่งที่สมควรกระทำ ฝ่ายอำนาจไม่ต้องกังวลว่าการกระทำแบบนี้จะทำให้ถูกโค่นล้มอำนาจ เพราะในทางปฏิบัตินั้นเป็นไปได้ยากอยู่แล้ว
ต้องเข้าใจว่าขณะนี้สังคมแค่รอให้มีการเลือกตั้ง รอให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติเพียงแค่นั้น
0 comments:
Post a Comment